Skip links

อายุน้อยก็เสี่ยงเป็นความดันโลหิตสูงได้ ถ้าไม่ระวัง! 

เคยเป็นกันไหมเวลาเล่นเกม เมื่อเพื่อนหรือสมาชิกในทีมทำอะไรไม่ได้ดั่งใจ เรามักจะมีอาการหัวร้อน เครียด หงุดหงิด โมโหง่าย  

เมื่อรู้สึกเครียด กดดัน โมโห หัวใจจะเพิ่มอัตราเร่งในการสูบฉีดเลือด ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นเล่นเกมได้แต่อย่าหัวร้อนบ่อย หัวใจจะทำงานหนัก   

โรคความดันโลหิตสูงจัดอยู่ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่ขาดสมดุล เข่น กินผิดหลักโภชนาการ ขาดการออกกำลังกาย พักผ่อนน้อยหรือมีความตึงเครียดสูง  
โดยการดำเนินของโรคจะเป็นไปอย่างช้า ๆ แต่ต่อเนื่องจึงเกิดเป็นอาการเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิต เบาหวาน หัวใจและโรคไต คนไทยป่วยด้วยโรคในกลุ่ม NCDs กันมาก ดังนั้นจึงควรรู้จักและป้องกันไว้ก่อนที่จะเกิดเจ็บป่วยด้วยโรคอื่น ๆ ตามมา   

ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง หัวใจจะทำงานหนัก ร้ายแรงที่สุดถึงขั้นหัวใจวายเฉียบพลันได้เลยทีเดียว  
ไม่ว่าจะมีโรคประจำตัว โรคที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคอื่น ๆ ได้ เช่น ไตวายเรื้อรัง หลอดเลือดตีบ เส้นเลือดในสมองตก อัมพฤกษ์ อัมพาต และหัวใจวาย เป็นต้น 

โดยความดันโลหิตสูงจะไม่แสดงอาการของโรคที่แน่ชัด แต่สามารถดูอาการเบื้องต้นและอาการไม่พึงประสงค์ที่ต้องรีบพบแพทย์ได้ ดังนี้ 

  • เหนื่อยหอบง่าย  
  • เจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง  
  • ใจสั่น หัวใจเต้นรัว  
  • ปวดหัวรุนแรง 
  • คลื่นไส้บ่อย ๆ  

ทุกคนสามารถดูแลตนเองให้ห่างไกลโรคเพื่อสุขภาพ และเพื่อลดความเสี่ยงจากความดันโลหิตสูงได้ง่ายๆโดย 

  1. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ตามค่า BMI โดยใช้สูตรคำนวณนี้  
    น้ำหนัก หารด้วย (ส่วนสูง x ส่วนสูง หน่วยเป็นเมตร) เช่น น้ำหนัก 80 ก.ก. สูง 160 ซ.ม. แทนค่าได้ 80 / (1.60×1.60) = 31.25  
    ค่ามากกว่า 30 = โรคอ้วนอันตรายเกินมาตรฐาน  
    ค่า 25.0 – 29.9 = โรคอ้วน  
    ค่า 18.5 – 24.9 = น้ำหนักปกติ  
    ค่าต่ำกว่า 18.5 = ผอมเกินไป น้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน  
  1. งดสูบบุหรี่ งดดื่มสุรา เพราะมีผลต่อการทำงานของระบบเลือดและหัวใจ  
  1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง  
  1. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มและมีโซเดียมสูง 

ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วยทั่วไป หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน แค่ลงทะเบียนเฮลท์ลิงก์ (Health Link) ไว้ก็อุ่นใจทุกสถานการณ์ เพราะเฮลท์ลิงก์ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทั่วประเทศที่เข้าร่วมได้โดยผู้ป่วยไม่ต้องเสียเวลารอขอประวัติการรักษาจากโรงพยาบาลเดิม แพทย์จึงสามารถเข้าถึงประวัติการรักษาผู้ป่วยผ่านระบบเฮลท์ลิงก์ได้ทันที ช่วยให้ทำการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงจุด และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น  

  

เพิ่มเพื่อนไว้อุ่นใจเสมอ ปรึกษาสอบถามเกี่ยวกับเฮลท์ลิงก์ได้ที่ Line : @healthlink  

ขอบคุณข้อมูลจาก  

– โรงพยาบาลบางปะกอก 9  

– โรงพยาบาลศิครินทร์  

– โรงพยาบาลศิริราช  

– โรงพยาบาลพญาไท  

– โรงพยาบาลเวชธานี  

  
#HealthLink#เฮลท์ลิงก์#เชื่อมต่อการรักษาทุกที่ทั่วไทย#GBDi#โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง#ความดันโลหิตสูง#NCDs#เฮลท์ลิงก์NCD