Skip links

หัวใจ ใครก็รู้ว่าสำคัญ 

จากข้อมูลปี พ.ศ. 2564 ของกระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย เผยว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคหัวใจมากกว่า 430,000 คนต่อปี และยังมีผู้เสียชีวิตมากถึงกว่า 20,000 คนต่อปี โดยคิดเฉลี่ยจากตัวเลขชุดนี้พบว่า 
มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจชั่วโมงละ 2 คน  

โรคหัวใจเป็นหนึ่งในกลุ่มโรค NCD ที่คนไทยเจ็บป่วยเป็นจำนวนมาก และไม่ได้เกิดเฉพาะกับผู้สูงอายุ  
โดยในปัจจุบัน สาเหตุของโรคยังเกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่สร้างความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่ การกินอาหารที่มีไขมันสูง กินอาหารรสจัด ยิ่งหากชอบกินขนมหวานหรือน้ำตาลยิ่งอันตราย อีกทั้งรวมถึงความเครียด ความดันโลหิตสูง ขาดการออกกำลังกาย หรือการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ เมื่อเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องใช้เวลาในการรักษาต่อเนื่อง ประวัติการรักษาผู้ป่วยจึงสำคัญ  

วิธีง่าย ๆ ที่ต้องทำ ถ้าไม่อยากเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ  

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง  
  • ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์  
  • สร้างกิจวัตรการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง  
  • รู้วิธีจัดการความเครียดให้ได้โดยเร็ว เพราะยิ่งเครียดจะยิ่งเพิ่มโอกาสการเสียชีวิตของผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ถึง 2-3 เท่า  
  • งดขนมหวานเป็นอาหารว่างหรือหลังอาหารหลัก เพราะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานและลามไปถึงโรคหัวใจได้  
  • ลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันมากกว่าผู้ที่ไม่ได้สูบถึง 10 เท่า (ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก) 

สัญญาณเตือนที่ต้องระวัง  

  • เหนื่อยหอบง่ายเวลาออกกำลังกาย หายใจไม่สะดวก ติดขัด หายใจแรง  
  • เป็นลมหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ  
  • นอนหลับไม่สนิท รู้สึกเหนื่อยหอบเวลานอน  
  • เจ็บหรือแน่นบริเวณกลางอก รู้สึกอึดอัด  
  • มีอาการปลายมือ ปลายเท้าบวม โดยไม่ทราบสาเหตุ  

หากใครมีอาการเหล่านี้ รีบตรวจเช็ก และพบแพทย์โดยเร็ว หรือสมัครเฮลท์ลิงก์ไว้ก่อนตั้งแต่วันนี้  
เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ หากเกิดอาการของโรคอย่างทันทีทันใดก็สามารถ 
เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลใกล้ที่สุดได้ก่อน โดยแพทย์สามารถเห็นประวัติการเจ็บป่วย ยาที่แพ้ หรือยาที่ทานอยู่ได้ทันที  

ขอบคุณข้อมูลจาก  

– โรงพยาบาลเปาโล  

– โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ  

– เว็บไซต์เดลินิวส์